top of page

รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน?


ทำความรู้จักรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV)

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle) หรือเราเรียกกันสั้นๆว่า “รถ EV” พูดง่ายๆก็คือรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแทนการใช้งานของเครื่องยนต์ ที่ทำให้กลไกการทำงานลดลง ไม่ต้องหมั่นดูแลเครื่องยนต์ และไม่มีไอเสีย ควันดำ จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง โดยรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ประเภท แต่แบบที่ต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ได้นั้น มีด้วยกัน 2 ชนิดนั้นก็คือ

  • Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV)

  • Battery Electric Vehicle (BEV)



  • รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด หรือเรียกสั้นๆว่า PHEV รถยนต์ประเภทนี้มีทั้งระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้าแบบเดียวกับรถ Hybrid แต่พิเศษกว่าคือสามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟจากภายนอกได้ ทำให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าระบบไฮบริดแบบเดิม สำหรับขนาดแบตเตอรี่ 6-14 กิโลวัตต์ (kW) ระยะทางวิ่งด้วยระบบ EV Mode ประมาณ 25-50 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง

  • รถยนต์ไฟฟ้า หรือเรียกสั้นๆว่า BEV รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อน 100% ที่ไม่มีเครื่องยนต์ภายในรถ มีแต่แบตเตอรี่ลูกใหญ่ที่เข้ามาทดแทน ข้อดีคือช่วยลดสารมลพิษจากการเผาไหม้ได้ดี หรือที่เขาเรียกกันว่า Zero Emission แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อยทั้งสถานีชาร์จไฟรถยนต์ และระยะทางในการขับขี่ สำหรับขนาดแบตเตอรี่ 60-90 กิโลวัตต์ (kW) ระยะทางวิ่งประมาณ 300-600 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง


สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน

ใครที่เล็งว่ากำลังจะซื้อรถไฟฟ้า เราต้องทำความเข้าใจระบบไฟฟ้าในบ้านของตัวเองก่อนนะคะ มิเช่นนั้นระบบไฟฟ้าภายในบ้านอาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งวันนี้เรามี 5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาฝากกันค่ะ

  • ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า : สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าของตัวเอง โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน ทางการไฟฟ้าแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป **สำหรับคนที่คิดว่าต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสรึเปล่า? คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” เนื่องจากถ้าบ้านไม่มีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป การใช้ไฟ 1 เฟสก็เพียงพอแล้วนะคะ

  • เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน

  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) : ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีส่วนตัว แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ยังไงเราก็ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุดนะคะ

  • เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) : เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม

  • เต้ารับ (EV Socket) : สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) *แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น




สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลักๆมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่


AC Charging

  • การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) : เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ที่ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม.

  • การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge) : เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม.

DC Charging

  • การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge) : เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ตรงเข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที นิยมใช้ตามสถานีบริการนอกบ้าน ที่ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ได้แก่ CHAdeMo, GB/T และ CCS เป็นต้น


ดู 19 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page